วันอาทิตย์ที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

ครั้งที่ 17

บันทึกอนุทินครั้งที่ 17
วันที่ 27 เมษายน 2559
เวลา 14.30 น. -17.30 น.

           วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาทุกคนมานั่งพูดคุยแลกเปลี่ยนปัญหากัน ก่อนออกฝึกสอน ว่านักศึกษาแต่ละคนมีปัญหาอะไรบ้างและอาจารย์ก็ให้คำแนะนำกับไปให้นักศึกษาได้ฝึกใช้กับปัญหาที่นักศึกษาได้เจอจริงๆ






หน่วย เห็ด  (วันศุกร์  นางสาวสุนิสา  บุดดารวม)













หน่วยส้ม  การเคลื่อนไหวและจังหวะ (ผู้สอน นางสวนฤมล  เส้งเซ่ง)


ครั้งที่ 16

บันทึกอนุทินครั้งที่ 16
วันที่ 18 เมษายน 2559 (ชดเชยวันที่ 20 เมษายน 2559)
เวลา 14.30 น.- 17.30 น.



ความรู้ที่ได้รับ

1. หน่วยยานพาหนะ(Vehicles)
สอนวันศุกร์ โดยนางสาวประภัสสร  หนูศิริ  เล่านิทานให้เด็กฟัง








2. หน่วยส้ม(Orange)
สอนวันศุกร์ โดย นางสาวบุษราคัม  สารุโณ  ทำน้ำส้มคั้น






3. หน่วยกล้วย (Banana)
สอนวันศุกร์ โดย นางสาวสุทธิดารัตน์  เกิดบุญมี  สอนการทำกล้วยเชื่อม








4.หน่วยผีเสื้อ (Butterfly)
สอนวันศุกร์ โดย นางสาวดวงกมล    คันตะลี  สอนขนมปังปิ้ง









ครั้งที่ 15

บันทึกอนุทินครั้งที่ 15
วันที่ 13  เมษายน 2559
เวลา 14.30  น.-17.30 น.


ไม่มีการเรียนการสอนเนื่อจากเป็นเทศการวันสงการนต์

ครั้งที่ 14

บันทึกอนุทินครั้งที่ 14
วันที่ 4 เมษายน 2559
เวลา 14.30 น.-17.30 น


1.หน่วยเห็ด(Mushroom) สอนวันพฤหัสบดี โดย นางสาวพรวิมล  ปาผล  เรื่องประโยชน์และข้อพึงระวัง
           โดยอาจารย์ให้คำแนะนำ คือ  ครูที่สอนยังมีความตื่นเต้นทำให้พูดอาจจะเร็วเกินไปสะดุดบ้างบางครั้งเนื้อหาเกี่ยวกับนิทานควรมีบทสนทนาของตัวละครให้มากขึ้น ไม่ใช่แค่เล่าเรื่องเพราะจะทำให้น่าเบื่อ และตัวละครต้องพอดีกับฉากด้วยให้มีความสมดุลกัน ส่วนฉากนิทานทำออกมาดีสวย แต่ควรเพิ่มให้มีมิติมากขึ้น พอเล่านิทานจบครูก็ถามเนื้อเรื่องเกี่ยวกับนิทาน ว่ามีใคร ทำอะไร ที่ไหน อย่างไร ข้อพึงระวังและประโยชน์ของเห็ดด้วย สิ่งที่ควรเน้นย้ำบ่อยๆก็คือข้อควรระวัง พูดซ้ำๆถามซ้ำๆเพื่อให้เด็กจำเกี่ยวกับข้อควรระวังได้ เมื่อเด็กเจอสถานการณ์จริงเด็กจะได้แก้ไขปัญหาหรือหลีกเลี่ยงสิ่งนั้นได้


2.หน่วยผีเสื้อ (Butterfly) สอนวันพฤหัสบดี โดยนางสาวณัฐชยา  ชาญณรงค์
             อาจารย์ให้คำแนะนำ คือการใช้คำถามถามเด็กเกี่ยวกับประโยชน์ของผีเสื้อว่าสามารถทำอะไรได้บ้าง นอกจากที่ครูมานำมาให้ดู ให้เด็กแต่ละคนได้เสนอความคิดเห็น และครูควรใช้คำถามที่กระตุ้นเด็กด้วยเพื่อความน่าสนใจในขณะที่เรียน



3.หน่วยยานพาหนะ (Vehicles) โดยนางสาวธนาภรณ์  ใจกล้า
              อาจารย์ให้คำแนะนำ คือ เตรียมสื่อการสอนดี แต่สื่อที่เตรียมมาควรมีขนาดใหญ่ให้เด็กได้มองเห็นด้วย การเขียนแผ่นชาร์ทตัวหนังสือต้องสวยเขียนให้ถูกต้อง การจัดวางเนื้อหาให้สมดุลกับกระดาษ ครูควรอธิบายเป็นขั้นตอนไม่กว้างจนเกินไปเน้นเนื้อหาสาระให้เจาะจงให้เด็กสามารถจดจำและเข้าใจได้ง่าย



4. หน่วยส้ม (Orange) สอนวันจันทร์โดยนางสาวนฤมล  เส้งเซ่ง






ครั้งที่ 13

บันทึกอนุทินครั้งที่ 13
วันที่  28  มีนาคม 2559
เวลา 14.30 น.-17.30 น.


          วันนี้อาจารย์ตรวจแผนการสอนกิจกรรมเคลื่อนไหวจังหวะและแผนกิจกรรมเสริมระสบการณ์และดูการสอนของเพื่อนแต่ละกลุ่มและให้คำแนะนำเพิ่มเติม

1. หน่วยเห็ด
        กิจกรรมเสริมระสบการณ์ ( วันพุธ ผู้สอนภัสสร ศรีพวาทกุล ) ในการสอนเพราะเห็ดไม่ควรมองข้ามสิ่งเล็ก เช่น ควรใส่ถุงมือในการทำและอธิบายง่ายๆสั้นๆให้เด็กเข้าใจได้ง่ายขึ้น
        กิจกรรมเคลื่อนไหวจังหวะ (วันศุกร์ ผู้สอนสุนิสา  บุดดารวม )  การเคลื่อนไหวควรมรการเปลี่ยนทิศทางและไม่ควรให้เด็กเคลื่อนไหวหลายอย่าง

2. หน่วยส้ม
        กิจกรรมเสริมประสบการณ์  (วันพุธ ผู้สอนบุษราคัม  สะรุโณ) ในการสอนสอนได้ไม่ตรงตามแผน อาจารย์ให้คำแนะนำว่า ถ้าเขียนแผนแบบไหนให้พูดตามแผนไม่ควรพูดเรื่องที่ไม่อยู่ในแผนการสอนที่เขียนไว้  
        กิจกรรมเคลื่อนไหวจังหวะ (วันศุกร์ ผู้สอนมธุรินทร์  อ่อนพิมพ์) ในการเคลื่อนไหวพื้นฐานให้เด็กได้กระโดดสลับขามีกิจกรรมที่สัมพันธ์เนื้อหาได้ดี

3. หน่วยกล้วย
        กิจกรรมเสริมประสบการณ์  (วันพุธ ผู้สอนณัฐชญา ตะคุณณะ ) ไม่มาเรียนในวันนี้
        กิจกรรมเคลื่อนไหวจังหวะ (วันศุกร์ ผู้สอนสุธิดารัตน์ เกิดบุญมี ) การเคลื่อนไหวตามคำบรรยายควรบรรยายให้ตรงตามสาระการเรียนรู้ที่เขียนไว้

4. หน่วยผีเสื้อ
        กิจกรรมเสริมประสบการณ์  (วันพุธ ผู้สอนวรมิตร  สุภาพ )  ไม่มีการแนะนำเพิ่มเติม
        กิจกรรมเคลื่อนไหวจังหวะ (วันศุกร์ ผู้สอนดวงกมล  คันตะลี ) ครูจำเ็นที่ต้องบอกเด็กว่าหนอนแค่กัดใบไม้ไม่ใช่ทำลายใบไม้

5. หน่วยผัก
        กิจกรรมเสริมประสบการณ์  (วันพุธทิมพ์มณียื สมศรี ) ควรใส่หัวข้อผักให้ครบ และให้ใส่ประเภทเยอะกว่านี้
        กิจกรรมเสริมประสบการณ์ (วันศุกร์ ผู้สอนอินธุอร  ศรีบุญชัย) ในการเล่านิทานต้องบอกระโยชน์ของผักให้ชัดเจน

6. หน่วยยานพาหนะ
        กิจกรรมเคลื่อนไหวจังหวะ (วันพุธ ผู้สอนประภัสสร  หนูสิริ) กิจกรรมพื้นฐานควรใช้คำพูดที่เด็กเข้าใจง่าย
        กิจกรรมเสริมประสบการณ์ (วันศุกร์ ผู้สอนอรุณี  พระนารินทร์)  สอนยังไม่ตรงตามเนื้อหาสาระการเรียนรู้

ครั้งที่ 12

บันทึกอนุทินครั้งที่ 12
วันที่ 22 มีนาคม 2559
เวลา 14.30 น. -17.30 น.


ความรู้ที่ได้รับ

   1.หน่วย ส้ม
      ผู้สอนกิจกรรมเคลื่อนไหวจังหวะ (วันพุธ ผู้สอนมธุริน  อ่อนพิม์ ) อาจารย์ให้คำแนะนำว่าครูไม่ควรเคาะจังหวะ  ควรบอกเด็กไเลยว่าให้ทำอะไรบ้างและไม่ควรพูดว่าให้เด็กเคลื่อนไหวตามจังหวะที่ครูเคาะ
      ผู้สอนกิจกรรมเคลื่อนไหวจังหวะ (วันพหัสบดี ผู้สอนสกาวเดือน  สะอึ้งทอง) ในการเคลื่อนไหวตามคำสั่งครูควรสั่งที่ละอย่าง ครูต้องให้เด้กได้เคลื่อนไหวก่อนถึงจะสั่งเพิ่ม

   2. หน่วย เห็ด 
      ผู้สอนกิจกรรมเคลื่อนไหวจังหวะ (วันพุธ ผู้สอนภัสสร  ศรีพวาทกุล ) กิจกรรมพื้นฐานสามารถให้เด็กเดินด้วยปลายเท้าส้นเท้า เพราะ เด็กจะได้ไม่เบื่อให้มีการเคลื่อนไหวหลายรูปแบบ
      ผู้สอนกิจกรรมเคลื่อนไหวจังหวะ (วันพหัสบดี ผู้สอนพรพิมล  ปาผล)  สาระที่ควรเรียนรู้ นำไปประกอบอาหาร

   3. หน่วย กล้วย
       ผู้สอนกิจกรรมเคลื่อนไหวจังหวะ (วันพุธ ผู้สอนกันยารัตน์ หนองหงอก) อาจารย์ว่าไม่ควรเคลื่อนไหวตามคำบรรยาย 2 วัน ติดต่อกันเพราะจะทำให้เด็กเบื่อ และครูต้องพูดโยงเข้าส่วนของเนื้อหาประโยชน์ของกล้วย เช่น กินแล้วท้องไม่ผูกช่วยในระบบขับถ่าย 
       ผู้สอนกิจกรรมเคลื่อนไหวจังหวะ (วันพหัสบดี ผู้สอน) 

   4. หน่วย ผีเสื้อ
       ผู้สอนกิจกรรมเคลื่อนไหวจังหวะ (วันพุธ ผู้สอน ) วรมิตร สุภาพ อาจารย์แนะนำว่าครูควรเคาะจังหวะพื้นก่อนค่อยเปลี่ยนคำสั่ง 
       ผู้สอนกิจกรรมเคลื่อนไหวจังหวะ (วันพหัสบดี ผู้สอน) ณัฐชยา ชาญณรงค์ สอนเกี่ยวกับกาผสมเกสรดอกไม้และการเปลี่ยแปลงสีของผีเสื้อ


   5. หน่วย ผัก
       ผู้สอนกิจกรรมเคลื่อนไหวจังหวะ (วันพุธ ผู้สอน ) ทิพย์มณี สมศรี การเคลื่อนไหวตามคำบรรยายผักประเภทที่กินผล คือ ฝักทอง ประเภทกินหัว คือแครอทและบอกวิธีการเลือกซื้อให้เด็ก
       ผู้สอนกิจกรรมเคลื่อนไหวจังหวะ (วันพหัสบดี ผู้สอน) อินธุอร ศรีบุญชัย ครูบรรยายให้เด็กไปเก็บผักแล้วนำไปขาย

   6. หน่วย ยานพาหนะ
       ผู้สอนกิจกรรมเคลื่อนไหวจังหวะ (วันพุธ ผู้สอน ) อรุณี พระนารินทร์ ในการเปลี่ยนแปลงการเคลื่อนไหวครูอาจให้เด็กเดินด้วย ปลายเท้า ส้นเท้า
       ผู้สอนกิจกรรมเคลื่อนไหวจังหวะ (วันพหัสบดี ผู้สอน) ธนาภรณ์ ใจกล้า ควรมีการเคลื่อนไหวที่หลากหลาย



ครั้งที่ 11
บันทึกอนุทินครั้งที่ 11
วันจันทร์ที่ 21 มีนาคม 2559
เวลา 14.30  น.-17.30 น.




ความรู้ที่ได้รับ
         วันนี้อาจารย์ตรวจแผนของทุกกลุ่ม และให้แต่ละกลุ่มออกมาสอนกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ และกิจกรรมเสริมประสบการณ์

1.หน่วยส้ม 
คำแนะนำของอาจารย์คือ การเขียนแผนการจัดประสบการณ์ควรใช้ปากกาเขียน แผนการการจัดประสบการณ์เขียนไม่มีที่มาที่ไป สอนไม่ตรงตามแผนและกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะต้องใช้กิจกรรมพื้นฐานก่อน การสอนควรตั้งสติใจเย็นๆ เพราะถ้สตื่นเต้นทำให้เกิดอาการพูดถูกพูดผิด และต้องปรับปรุงในเรื่องการเคาะจังหวะ การสั่งต้องชัดเจน วิธีการเรียนรู้ของเด็กที่เด็กจะเรียนรู้ได้ดี คือ การสังเกต  การสัมผัส และกลุ่มนี้สอนเกี่ยวกับบนนยายลักษณะของส้มเป็นส่วนใหญ่ ควรดูการสอนจากเพื่อนกลุ่มอื่นแล้วค่อยมาปรับปรุงแก้ไข

2. หน่วยผีเสื้อ
คำแนะนำของอาจารย์คือ กิจกรรมเคลื่อนไหวและจัวหวะ เป็นกิจกรรมที่เน้นการเคลื่อนไหวอยู่ที่กายจึงไม่ต้องมีแผนชาร์ท เพลงที่จะใช้ในกิจกรรมควรเป็นเพลงที่เด็กร้องได้ด้วย  ขั้นตอนแรกครูต้องร้องเพลงให้เด็กฟัง 1 รอบ แล้วกำกับจังหวะ โดยให้เด็กได้จับกลุ่มผลัดกันร้อง  ผลัดกันเต้น ผลัดกันเคาะจังหวะ เด็กจะได้ไม่สับสนรู้หน้าที่ของตนเอง และในการผ่อนคลายกล้ามเนื้อไม่ควรใช้เวลามาก แต่เน้นให้ด็กทำทุกวัน  ส่วนกิจกรรมเสริมประสบการณ์ครูสามารถนำรูปมาติดที่แผ่นชาร์ทได้ ครูควรใช้ปากกาสีที่แตกต่างกันเช่นคำว่าผีเสื้อเป็นสีแดง ตัวหนังสืออื่นเป็นสีน้ำเงิน เพื่อให้เด็กเห็นคำว่าผีเสื้อชัดเจนขึ้น  และไม่ควรนำชนิดผีเสื้อมาเยอะเกินไป เพราะเด็กไม่สามารถจำชนิดผีเสื้อได้หมด  ควรนำมาแค่ 3 ชนิดก็พอ การติดรูปแยกประเภทของผีเสื้อต้องติดจากทางซ้ายมือของเด็กไปทางขวามือของเด็ก ครูต้องถามว่าผีเสื้อชนิดไหนมีมากกว่ากัน แล้วให้เด็กออกมาจับคู่ 1: 1

3. หน่วยผัก
คำแนะนำของอาจารย์  คืิอ กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะไม่ต้องใช่ชาร์เพลง  กลุ่มนี้เคาะจังหวะได้ชัดเจน  ครูควรให้เด็กได้เดินด้วยปลายเท้า  ส้นเท้า เพื่อให้เด็กปรับเปลี่ยน หลังจากที่ครูทบทวนร้องเพลงแล้ว ครูควรเรียกเด็กออกมา 1 คน ทำท่าทางนำเพื่อน เพื่อให้เด็กได้ท่าทางที่แตกต่างกัน  ผลักันสัก 4-5 คน ไม่ต้องครบทุกคน ส่วนกิจกรมเริมประสบการณ์ การเขียนประเภทของผักต้องเขียนว่าผักแต่ละชนิด กินใบ  กินดอก หรือกินหัว และทำตารางเปรียบเทียบให้เห็นชัดเจน พอครูสอนเมื่อครูถามเด็กว่าผักอะไรกินใบ ครูก็เขียนสิ่งที่เด็กพูดลงไปในชาร์ท ถ้าเป็นไปได้ควรเอาของจริงมาเพื่อให้เด็กได้เห็นของจริงและทำให้น่าสนใจยิ่งขึ้น

4 หน่วยยานพาหนะ
คำแนะนำของอาจารย์  คืิอ กลุ่มนี้เคาะจังหวะได้ชัดเจน  การเคลื่อนไหวตามคำบรรยาย ครูต้องเคาะจังหวะหยุดให้เด็กด้วย เช่น เด็กๆจอดรถจักรยานลงไปในหาดทราย  ขณะที่ครูพูด ครูตองเคาะจังหวะหยุดให้เด็กทันที ส่วนกิจกรรมเสริมประสบการณ์ ครูต้องใช่เกณฑ์ให้ชัดเจนในการบอกประเภทของยานพาหนะ ควรใช้การเปรียบเทียบ 3 ชนิดกับเด็ก อ.3 หรือ อ.2 ตอนปลาย ครูสามารถใช้ได้แต่ครูต้องรู้วิธีการพูดให้ถูก

5.หน่วยกล้วย
คำแนะนำของอาจารย์  คืิอ ครูควรเคาะจังหวะหยุดทันที เมื่อต้องการให้เด็กหยุดการเคลื่อนไหว ไม่ควรเว้นระยะในการเคาะจังหวะหยุด  ส่วนกิจกรรมเสริมประสบการณ์แผ่นชาร์ทเพลงภาพกล้วยไม่ควรใช่สีสะท้อนแสง การนับจำนวนกล้สยไม่ควรนำภาพมาเป็นหวี เพราะทำให้ไม่สามารนับได้

6.หน่วยเห็ด
คำแนะนำของอาจารย์  คืิอ  กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ มีการให้เด็กเปลี่ยนทิศทางในการเคลื่อนไหวกิจกรรมพื้นฐาน ส่วนกิจกรรมเสริมประสบการณ์ ครูต้องหาแผงไข่มาวางเห็ดไม่ให้ซ้อนกัน แผ่นชาร์ทต้องหาฟิวเจอร์บอร์ดมารองด้านหลังให้หนา ติดรูปเห็ดในการแยกประเภทของเห็ดต้องติดจากทางซ้ายมือไปทางขวามือของเด็ก

การนำไปใช้   
วันนี้อาจารย์ได้ให้คำแนะนำต่างๆ เทคนิคการสอน ทั้งกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ กิจกรรมเสริมประสบการณ์ นำสิ่งที่อาจารย์แนะนำไปปรับปรุงแก้ไขให้ถูกต้องและสามารถใช้ในอนาคตได้

ครั้งที่ 10

บันทึกอนุทินครั้งที่ 10
วันที่ 14 มีนาคม 2559(เก็บของ 16 มีนาคม 2559)
เวลา 14.30  น.-17.30 น.




วันนี้ไม่มีการเรียนการสอนเนื่อจากอยู่ในช่วงขนย้ายตึก


ครั้งที่ 9

บันทึกอนุทินครั้งที่ 9
วันที่ 7 มีนาคม 2559 (ชดเชยวันที่ 9 มีนาคม 2559)
เวลา 14.30  น.-17.30 น.



วันนี้ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากอยู่ในช่วงขนย้ายตึกคณะศึกษาศาสตร์



ครั้งที่ 8

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 8
วันที่ 29 กุมภาพันธ์  2559
เวลา 14.30-17.30 น.



ความรู้ที่ได้รับ

        วันนี้เพื่อนๆแต่ละกลุ่มสอนแผนเสริมประสบการณ์มีหน่วยดังนี้
1. หน่วย  ยานพาหนะ
       ได้รับคำแนะนำจากอาจารย์ว่าถ้าสอนเคลื่อนไหวตามคำบรรยายต้องใส่ไว้ในภาพผนวกด้วย  และในการสอนเคลื่อนไหวต้องให้เด็กเคลื่อนไหวแบบกติก่อนเป็นอันดับแรกเพื่อให้เด็กเรียบเทียบจังหวะเร็ว-ช้า

2.หน่วย  เห็ด
       ได้รับคำแนะนำจากอาจารย์ว่าผู้สอนต้องฝึกเคาะจังหวะและต้องมีจังหวะที่หลากหลายและถ้าจะให้เด็กเต้นตามจินตนาการ  ผู้สอนก็ไม่จำเ้นต้องเต้นให้ดูก่อน

3. หน่วย  ผัก
        ได้รับคำแนะนำจากอาจารย์ว่าผู้สอนต้องฝึกเคาะจังหวะให้เป็นและในการสอนต้องนึกถึงหลักความเป็นจริงว่าผักมันเคลื่อนไหวไม่ได้ให้เปลี่ยนเป็นสมมตให้เด็กเป็นคนขายผักแล้วให้ถือผักในรูปแบบต่างๆ

4. หน่วย ผีเสื้อ
        ได้รับคำแนะนำจากอาจารย์ว่าผู้สอนต้องฝึกเคาะจังหวะที่หลากหลายและฝึกให้เด็กทำตามข้อตกลง


การประเมิน

     ตนเอง : เข้าเรียนตรงเวลา แต่งตัวเรียบร้อย  และให้ความร่วมมือดี
     เพื่อน  :  มาเรียนตรงเวลา  แต่งตัวเรียบร้อย  และให้ความร่วมมือดี
     อาจารย์  :  อาจารย์ให้คำแนะนำนักศึกษาเป็นอย่งาดี